ดูหนัง The Salesman (2016) เดอะ เซลส์แมน
เล่าเรื่องปัญหาชีวิตชนชั้นกลางในอิหร่าน ตัวละครหลักของเรื่อง เอมาด (ชาฮาบ ฮอสเซนี) และ รานา (ทาราเนห์ อลิดูสตี) เป็นคู่รักนักแสดงที่กำลังมีผลงานละครเวทีวันหนึ่งเอมาดและรานา ได้ยินเสียงอึกทึกเหมือนตึกกำลังทรุดตัว พวกเขาจึงไม่รอช้า ตัดสินใจย้ายไปหาห้องพักห้องใหม่ แม้ลึกๆ จะเสียดายห้องพักเดิมอยู่ไม่น้อยเลยก็ตาม ในที่พักแห่งใหม่ ยังมีสัมภาระของผู้เช่าคนเก่าทิ้งไว้และยังขนไปไม่หมด และพวกเขาก็หาทางติดต่อผู้เช่าคนเดิมไม่ได้เลย ครั้นจะทิ้งก็เกรงว่า หากเจ้าของกลับมาเอาคืน จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ แล้วจู่ๆ วันหนึ่ง แขกผู้ไม่ได้รับเชิญก็ปรากฏตัวที่หน้าบ้านของพวกเขาโดยไม่บอกล่วงหน้า แขกผู้มาพร้อมปริศนาบางอย่าง ปริศนาที่จะนำเอมาดและรานาก้าวไปยังโลกที่พวกเขาไม่คิดว่าจะได้ย่างกรายเข้าไป
อ่านรีวิวก่อน ดูหนัง
นักแสดง
Shahab Hosseini ชาฮาบ ฮอสเซนี

Taraneh Alidoosti

Mina Sadati

ผู้กำกับ : Asghar Farhadi
รีวิว
หนังโปรดของข้าพเจ้า
เป็นดราม่า-ทริลเลอร์ที่เล่าเรื่องธรรมดาชวนให้ติดตามด้วยลำดับการเล่าเรื่องก่อนจะจัดเต็มในองก์สุดท้าย ชอบงานของอัสการ์ ฟาร์ฮาดี (ผู้กำกับ A Separation) อย่างหนึ่งตรงที่ว่าเขาสามารถเล่าความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยาจากจุดเล็ก ๆ ขยายไปเป็นการวิพากษ์ระดับสังคม เช่นเดียวกับใน ที่ปัญหาเริ่มขึ้นเมื่อ ‘รานา’ ภรรยาของ ‘อีหมัด’ ถูกทำร้ายร่างกายขณะอาบน้ำอยู่ในบ้านคนเดียว ซึ่งในสภาพสังคมเช่นนั้นทำให้รานาเลือกจะไม่แจ้งตำรวจเพราะไม่อยากให้เรื่องอื้อฉาว เธอไม่อยากต้องมาเล่าเหตุการณ์ว่ามีผู้ชายเห็นเธอขณะเปลือยกาย และเราก็ไม่ทันคาดคิดว่าจากพล็อตเล็ก ๆ ตรงนี้ที่ดูเหมือนจะเล่าออกมาในแนวหนังตามล้างแค้นจะสามารถขยายให้เห็นถึงความซับซ้อนของคำว่าครอบครัว
.
**** จะสปอยล์รัว ๆ ในย่อหน้าต่อจากนี้ ใครไม่ซีเรียสก็อ่านได้ ****
หลังจากรานาถูกทำร้ายร่างกายแล้วอีหมัดเลือกจะเล่นบทนักสืบตามจับคนร้ายด้วยตัวเอง ทิศทางของหนังทำให้เราตั้งคำถามว่าเขากำลังล้างแค้นให้ความเจ็บปวดทางร่างกายและจิตใจของภรรยา หรือต้องการชำระความเจ็บปวดของตัวเองที่ถูกย่ำยี่ศักดิ์ศรี สถานะเพศหญิงในหนังอิหร่านอยู่ในภาวะถูกข่มเหงจากเพศชายโดยไม่สามารถปริปากออกมาได้ ยกตัวอย่างเช่นหญิงสูงวัยบนรถแท็กซี่ที่ขอสลับที่นั่งกับเด็กนักเรียนแถวหน้าเพื่อจะได้ไม่ต้องนั่งติดกับอีหมัด ซึ่งเป็นฉากเล็ก ๆ ที่สะท้อนให้เห็นว่าเธออาจมีปมหลังฝังใจไม่ต่างจากรานาที่ถูกเพศชายทำร้ายร่างกายขณะเปลือยกายอาบน้ำ ถึงแม้รานาจะหวาดกลัวแต่กลับเลือกจะเก็บมันไว้กับตัวเอง ยอมยกโทษให้คนร้ายแล้วดำเนินชีวิตต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
.
แต่ไม่ใช่สำหรับสามีของเธอที่ดูจะค่อย ๆ หมกหมุ่นกับการตามจับคนร้ายโดยไม่รู้ตัว มันมีอยู่หนึ่งฉากที่แสดงให้เห็นว่าเขารู้สึกถูกหมิ่นเกียรติของตัวเองก็คือตอนที่ภรรยาบังเอิญหยิบเงินสดของคนร้ายไปจ่ายตลาดเพื่อทำพาสต้าให้สามีทาน ทันทีที่เขารู้ว่าเงินมาจากไหนเขาก็จัดแจงนำมันไปเททิ้งทั้งหมด ฉากเล็ก ๆ ฉากเดียวสะท้อนให้เห็นถึงความหมกหมุ่นในศักดิ์ศรีของเพศชายที่สูงกว่าเพศหญิงที่ถูกทำร้ายโดยตรงเสียอีก และมันก็นำมาสู่ความคับแค้นที่เขาต้องสะสางกับคนร้ายในฉากจบ
.
ความฉลาดของบทหนังโดยฟาร์ฮาดีอย่างหนึ่งคือเขาสอดแทรกบทละครเวที Death of a Salesman ไว้อย่างแนบเนียน อีหมัดได้รับบทเป็น ‘วิลลี่’ เซลส์แมนในละครเวทีที่นอกใจภรรยาโดยมีลูกชายบังเอิญเห็นแล้วเกิดความรู้สึกด้านลบต่อพ่อในทันที ซึ่งการรับบทดังกล่าวย่อมหมายถึงว่าเขาต้องศึกษาผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมของตัวละครที่เขาแสดง และนั่นนำมาสู่ความซับซ้อนของการตัดสินใจในตอนจบที่เขาได้เล่นบทบาทพระเจ้าผู้มีอำนาจพิพากษาชะตาชีวิตชายแก่คนหนึ่งที่มีภรรยาเทิดทูนด้วยความรัก มีลูกสาวและลูกเขยที่ให้ความเคารพโดยหารู้ไม่ว่าเบื้องหลังชายแก่คนนี้นอกใจภรรยาไปหาหญิงสาวคนหนึ่งที่อพาร์ทเม้นต์ของอีหมัดเป็นเวลาหลายปี
.
จุดประสงค์ของอีหมัดตั้งใจเหยียดหยามเกียรติของชายแก่ด้วยการให้เขาสารภาพทุกอย่างต่อหน้าครอบครัว ไม่ต่างจากอะไรจากลูกชายของวิลลี่ใน Death of a Salesman ที่พยายามพิสูจน์ให้แม่เห็นว่าพ่อของตัวเองไม่ซื่อสัตย์กับครอบครัว แต่อีหมัดต้องชั่งน้ำหนักผลกระทบที่จะตามมา ถึงเขาจะได้หยามเกียรติชายแก่ตามที่หวังแต่การทำร้ายจิตใจคนในครอบครัวชายแก่เป็นสิ่งที่เขาต้องการให้เกิดขึ้นจริง ๆ หรือไม่ เพราะสุดท้ายเราก็เชื่อเหมือนที่เขาสอนลูกศิษย์ในห้องถึงหนังเรื่อง The Cow (หนังอิหร่านปี 1969) ที่ชาวชนบทรักวัวตัวหนึ่งมากจนเมื่อมันตายไปแล้วเขาค่อย ๆ เปลี่ยนจากมนุษย์เป็นวัว มันเกิดขึ้นเพราะความเชื่อว่าตัวเองเป็นวัวไม่ต่างอะไรจากอีหมัดที่ค่อย ๆ เชื่อว่าตัวเองมีความแค้น ทั้งที่ความจริงแล้วอาจจะเป็นเพราะเขาไม่สามารถหลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ตัวเองสร้างความเกลียดชังขึ้นมา