ดูหนัง LaddaLand (2011) ลัดดาแลนด์
ธีร์ มนุษย์เงินเดือนวัยเกือบ 40 ที่ฝันอยากจะมีบ้านเป็นของตัวเอง โอกาสมาถึงเมื่อเขาได้รับข้อเสนอ เป็นตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายการตลาดที่บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยเงินเดือนที่มากขึ้นและค่าที่ดินที่ถูกลง ทำให้เขาตกลงใจซื้อบ้านและหวังลงหลักปักฐานที่หมู่บ้าน โดยที่ไม่รู้เลยว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้นที่นี่ต่อมา ธีร์ได้รับข้อเสนอ ให้เป็นตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายการตลาดที่บริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยเงินเดือนที่มากขึ้นและค่าที่ดินที่ถูกลง ธีร์ ตัดสินใจไปตั้งรกรากในบ้านที่หมู่บ้าน โดยไม่ฟังคำทัดทานของภรรยาและลูก ธีร์ เชื่อว่าครอบครัวของเขาจะมีความสุขมากกว่า ธีร์ บังเอิญมาเห็นโจรสองคนที่กำลังขโมยขวดน้ำจากตู้แช่ เขาจึงได้ตะโกนและก่อนที่พวกเขาจะรีบวิ่งหนีแต่อีกฝ่ายก็สามารถหนีไปได้ แต่อีกคนนึงถูกธีร์จับได้และชกต่อย จนทำให้พนักงานไล่ธีร์ออก แต่ธีร์ ก็ไม่ยอมออกจากร้านและยังตะโกนใส่พนักงานร้านว่า “กูไม่ออก ออกไปแล้วกูจะเอาอะไรแดก” และเขาก็ได้เอาไม้ถูพื้นโดยไม่สนใจพนักงานร้าน
อ่านรีวิวก่อน ดูหนัง
นักแสดง
สหรัถ สังคปรีชา

ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์

สุทัตตา อุดมศิลป์

ผู้กำกับ : โสภณ ศักดาพิศิษฏ์
รีวิว LaddaLand (2011) ลัดดาแลนด์
หนังโปรดของข้าพเจ้า
“เราว่าความฝันสูงสุดของใครหลายคนคงหนีไม่พ้นการมีครอบครัวที่อบอุ่น มีบ้านที่สวยงาม อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน แต่หากความฝันทั้งหมดที่คุณมีมันสูญหายและพังไปกับตาชนิดที่คุณไม่คาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นมาก่อนได้เลยล่ะ คุณจะทำอย่างไร คุณจะรับมือกับมันไหวไหม”
เป็นเรื่องราวของ ‘ธีร์’ (ก้อง สหรัถ) คุณพ่อวัย 30 ปลาย ๆ พนักงานออฟฟิศทั่วไป ที่มีความฝันเหมือนกับคนอื่น ๆ อยากมีบ้านหลังใหญ่สวยงามอยู่ด้วยกันกับครอบครัวอันแสนจะอบอุ่น เขาจึงตั้งหน้าตั้งตาทำงานและเก็บหอมรอมริบจนได้เงินก้อนหนึ่งเพื่อมาซื้อบ้านที่เขาฝันไว้ เขาตัดสินใจลงทุนซื้อบ้านเดี่ยวที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่งในเชียงใหม่พร้อมวาดฝันอันสวยที่จะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ของเขาที่นี่ แต่แล้วจุดพลิกผันก็เริ่มขึ้นหลังจากที่เขาก้าวเข้ามาในหมู่บ้านแห่งนี้
หากพูดในความสยอดสยองแล้วละก็เราว่าเรื่องนี้ฉลาดมากเลยทีเดียว โดยเริ่มจากเปิดฉากมาให้เราเข้าใจถึงครอบครัวแสนสุขชีวิตสุขสันต์ ดึงอารมณ์คนดูเรื่อย ๆ แต่ไม่หลุดพล็อตหนังผี และที่ชอบเลยคงจะเป็นการเข้าเนื้อเรื่องได้โดยไม่ต้องรอให้นาน เอาเข้าจริง ๆ เรื่องนี้ก็ไม่ต่างจากหนังผีทั่วไปสักเท่าไร แต่ที่มันโอเคเลยเพราะตำนานที่มีคนกล่าวขวัญมันมาก่อน
ถ้าหากจะให้พูดถึงหนังเรื่องนี้อีกมุมหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่องสถาบันครอบครัวและเรื่องวัตถุนิยม-ค่านิยมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันที่เราเจอ เราจะเห็นได้ตั้งแต่เปิดฉากมาที่ผู้เป็นพ่อกำลังจัดบ้านที่แสนสุข(ตามความคิดของเขา) พร้อมกับทำให้คนดูเข้าใจถึงความสุขของผู้เป็นพ่อและครอบครัวที่อบอุ่น แต่ใครจะไปรู้ถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคนในครอบครัวที่เริ่มจะเกิดเป็นรอยร้าวขึ้นเรื่อย ๆ หลังจากที่ย้ายเข้ามาในหมู่บ้าน เริ่มจากตัวธีร์กับ ‘แนน’ (ปันปัน สุทัตตา) ลูกสาวที่มีความคิดว่าตนไม่ได้เป็นลูกที่รักของพ่อ เพราะตัวเองถูกส่งไปอยู่กับยายตั้งแต่เด็ก และจากที่ได้ไปอยู่ที่บ้านยายจนเกิดเป็นความผูกพันแล้วนั้นพ่อดันกลับมารับตนไปอยู่ด้วยและย้ายถิ่นฐานจากเมืองกรุงไปอยู่เชียงใหม่ ซึ่งคนเป็นพ่อทำเพราะแค่อยากให้ลูกและครอบครัวอยู่สบาย จากความขัดแย้งครั้งนี้ทำให้ธีร์จึงต้องคอยหาสิ่งของวัตถุนิยมต่าง ๆ
ที่เด็กวัยรุ่นสมัยนั้นใช้ (บีบีพร้อมอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไว้คอยแชทกับเพื่อนที่พอค่าใช้จ่ายรายเดือนมาสิ้นเดือนแพงหูฉีก หรือแม้กระทั่งโทรทัศน์ที่ต้องเป็นจอแบนตามสมัยนิยม) นั่นแหละถึงแม้ผู้เป็นพ่อจะพยายามมากสักเท่าไร สุดท้ายแล้วลูกก็ไม่ได้เข้าใจความหมายของมันอยู่ดี แต่ในทางกลับกันเราว่าสิ่งเดียวที่ลูกต้องการจากพ่อ ไม่ใช่การที่ตัวเองได้อยู่อย่างสบายหรอก เธอแค่ต้องการให้พ่อแสดงความอบอุ่นและเข้าใจมากกว่าที่เป็นอยู่ก็เท่านั้น เอาเป็นว่า เป็นหนังผีที่ให้ความหมายของคำว่า “ความสุขของคนในครอบครัวไม่ใช่แค่การมีบ้านหลังใหญ่เงินทองเยอะแยะ แต่ความสุขจริง ๆ นั้นคือถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในบ้านหลังเล็ก ๆ แต่ขอแค่ทุกคนอยู่พร้อมหน้ากันและเข้าใจซึ่งกันและกันก็คงเพียงพอแล้ว”