ดูหนัง Clash of the Titans (2010) สงครามมหาเทพประจัญบาน
เรื่องรวมหากาพย์การต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่เพื่อช่วงชิงอำนาจของบรรดาผู้คนต่อเหล่ากษัตริย์ และของเหล่ากษัตริย์ต่อทวยเทพ แต่สงครามระหว่างทวยเทพเองนั้นอาจทำลายล้างโลกได้ แม้ถือกำเนิดจากเทพแต่ถูกเลี้ยงดูให้เป็นมนุษย์ เพอร์ซีอุส ไร้หนทางที่จะปกป้องครอบครัวของเขาจาก เฮเดส เทพผู้โหดเหี้ยมแห่งยมโลก เมื่อไม่เหลืออะไรให้สูญเสีย เพอร์ซีอุสจึงอาสาเป็นผู้นำในภารกิจเสี่ยงภยันตรายเพื่อเอาชนะเฮเดสก่อนที่เขาจะสามารถยึดอำนาจจาก ซุส และเปิดประตูนรกขึ้นบนโลก เพอร์ซีอุสออกเดินทางสู่โลกต้องห้ามเบื้องล่างในการเป็นผู้นำกองทัพนักรบผู้กล้า เพื่อต่อสู้กับเหล่าปีศาจนอกรีตและสัตว์ร้ายน่าสพรึงกลัว เขาจะมีทางรอดได้หากเขาสามารถยอมรับพลังแห่งเทพ ท้าทายโชคชะตาและลิขิตชีวิตด้วยตนเอง
อ่านรีวิวก่อน ดูหนัง
จากที่ครั้งหนึ่ง ภาพยนตร์แฟนตาซีผจญภัยอิงตำนานทวยเทพกรีกเรื่อง Clash of the Titans (1981) ได้เคยสร้างความนิยมให้กับผู้ชมในสมัยนั้น อีกยี่สิบปีต่อมาจึงได้เกิดความพยายามนำงานชิ้นนี้มารีเมค ทว่าการเข็นมันออกมาเป็นบทหนังที่จูงใจได้มากพออนุมัติงบสร้างเป็นไปอย่างยากลำบาก มีการปรับเปลี่ยนโทนกับเนื้อหาอยู่หลายตลบ คนรับหน้าที่ดูแลก็ผ่านมาผ่านไป จนกระทั่งในปี 2008 โครงการนี้จึงมีทิศทางที่ชัดเจนในที่สุดเมื่อผู้กำกับ หลุยส์ เลอแตร์ริเยร์ ซึ่งเป็นแฟนตัวยงของหนังต้นฉบับเข้ามากุมบังเหียน “ผมรักหนังต้นฉบับมาก ผมโตมากับหนังเรื่องนั้น” เลอแตร์ริเยร์กล่าว “แต่ถึงอย่างนั้น ผมก็ไม่อยากทำซ้ำแบบเดิม ต้องมีฉีกกรอบออกไปซะหน่อย” แม้จะยังยึดตามโครงเรื่องเก่าอันว่าด้วย เพอร์ซีอุส บุตรกึ่งมนุษย์แห่งเทพซูสที่ต้องออกไปฝ่าภยันตรายต่อกรกับสิ่งมีชีวิตอันน่าสะพรึงเพื่อช่วยชีวิตเจ้าหญิง ทว่ารายละเอียดปลีกย่อยนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแทบสิ้น กลายมาเป็นสถานการณ์อันตึงเครียดระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้าท่ามกลางความเสื่อมถอยของศรัทธาเมื่อเหล่าเทพมุ่งหมายลงทัณฑ์ปุถุชนที่เหิมเกริม และเพอร์ซิอุสคือคนที่ต้องยุติหายนะทุกด้านให้ทันท่วงที งานนี้มีการประเคนทุนสร้างให้ใช้สอยมากถึง 125 ล้านดอลลาร์เพื่อผลักดันความโดดเด่นทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเป็นจุดขายหลัก และก็เพื่อให้อลังการสมกับการเป็นหนังสงครามมหาเทพประจัญบาน บรรจุไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิตในตำนานจากงานต้นฉบับที่ผู้ชมทั่วไปรู้จักดีอย่าง เมดูซ่า, คราเค่น และม้าเปกาซัส แบบครบครัน กระนั้นสิ่งแรกๆ ที่เลอแตร์ริเยร์ทำก็คือรวบรวมทีมนักแสดงดังไว้มากมายโดยเฉพาะในรายของ เลียม นีสัน ในบทซูส และ เรฟ ไฟน์ส ในบทเฮดีสซึ่งได้มีบทบาทเพิ่มจากหนังต้นฉบับมากนัก “อย่างแรกเลยคือผมต้องสาบานกับพวกเขาว่าจะไม่ให้พวกเขาต้องสวมเสื้อคลุมยาวๆ อย่างกับชาวโรมัน” ผู้กำกับเผยเบื้องหลังการทาบทาม “และอย่างที่สองก็คือเปิดโอกาสให้พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วมด้วยมากๆ ให้พวกเขาได้รับรู้ไอเดีย ให้ได้เห็นคอนเซปต์ตัวละคร” และด้วยความนิยมชมชอบมังงะในตำนานอย่าง Saint Seiya เลอแตร์ริเยร์จึงนำไอเดียเกราะสีสันประกายวิบวับสง่างามมาเสริมแต่งให้เหล่าเทพในหนังของตัวเองกันไปเลย ขณะเดียวกัน ในบทคู่พระนางได้มีการเลือกสองนักแสดงหนุ่มสาวที่กำลังมาแรงในตอนนั้นอย่าง แซม เวิร์ทธิงตัน มารับบทเพอร์ซีอุส คู่กับ เจ็มม่า อาร์เทอร์ตัน ในบทไอโอ ซึ่งไม่มีอยู่ในหนังฉบับเก่า แล้วก็สมทบเข้าไปด้วย แมดส์ มิคเคลเซ่น, เจสัน เฟลมมิ่ง, เลียม คันนิ่งแฮม และ อเล็กซา ดาวาลอส “ถ้าเทียบกับตอนถ่าย Terminator (Salvation) เรื่องนี้ยากกว่าเยอะ” เวิร์ทธิงตันยอมรับ “ไอ้ผมก็หลงเข้าใจว่ามันจะง่ายเหมือนปอกกล้วย นึกว่าแค่ใส่ชุดแล้ววิ่งไปวิ่งมา ที่ไหนได้ล่ะ ต้องใช้พลังเยอะมาก แล้วไปถ่ายกันแต่ละที่ก็โหดสุดๆ” ประสบความสำเร็จอย่างดีกับการทำเงินทั่วโลกกว่า 493 ล้านดอลลาร์ชนิดสวนทางกับคำวิจารณ์ที่ติดตัวแดง เนื่องจากหนังเรื่องนี้เน้นที่ความมันส์ ความเวอร์วังเข้าว่า ต่อให้มีส่วนที่ถูกจับผิดได้มากมาย ก็อาศัยซีจีไอสวยๆ ตัวละครดีไซน์โดดเด่นมาเบี่ยงเบนความสนใจให้ผู้ชมทั่วไปรับรู้เพียงความบันเทิงเต็มขั้นจนสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายแบบเกม God of War ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานอันโด่งดังของเวิทร์ธิงตันในช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์ของเขา ในส่วนของการผจญภัย แอ็คชัน Effect สัตวประหลาดและอภินิหารของเหล่าทวยเทพถือว่าน่าพอใจออกแบบได้ไม่เลว ทำออกมาสวย อย่างห้องโถงในวังของเทพซุสก็ดูสว่างสดใส เปี่ยมรัศมีเทพ หรือสถานที่ต่างๆ ที่เพอร์ซุส (Sam Worthington) ไปผจญภัยก็ดูอลังการตามสมควร ยิ่งตอนท้ายไคลแม็กซ์การมาของคราเคนก็น่าตื่นตาไม่น้อย เนื้อหาจริงๆ ก็ดูน่าสนใจในตอนต้นเมื่อเราได้รับรู้ตำนานที่มาที่ไปของกำเนิดโลก รู้ว่าอะไรคือไททัน ใครคือซูส (Liam Neeson) โพเซดอน (Danny Huston) และเฮดีส (Ralph Fiennes) พร้อมทั้งปมที่มาของการอาละวาดล้างผลาญมนุษย์ตามคำสั่งของซูส ดูแล้วก็สะกิดใจในความเจ้าอารมณ์และใจร้อนของเหล่าทวยเทพเหมือนกันนะครับ มันชวนให้คิดว่าเหล่าเทพในตำนานของแต่ละแห่งนั้น ก่อร่างสร้างขึ้นมาจากรูปแบบความเชื่อ อีกทั้งลักษณะการคิดของมนุษย์ชนชาตินั้นๆ ว่าง่ายๆ คือเทพตามตำนานของชาติต่างๆ ก็สะท้อนตัวตนของชาตินั้นๆ ได้พอสมควร สาระประการในหนัง นอกจากจะสะท้อน “ที่มาอันแท้จริงของทวยเทพตามตำนาน” ยังสะท้อนแง่มุมการเป็นผู้นำ ซึ่งเหล่าเทพกับผู้นำทั้งหลายควรตระหนักว่าการขยับตัวทำอะไรนั้นไม่ว่าจะเล็กใหญ่ก็ตาม มันสามารถส่งผลกระทบมาถึงคนทั่วไปได้เสมอ ทำเข้าท่าผลมันก็อาจจะเข้าท่า แต่หากทำอะไรเอาแต่อารมณ์ เห็นแก่ตัวเองเข้าว่า ฯลฯ หายนะก็เกิดขึ้นตามมาได้ในหลายๆ หย่อมหญ้า สิ่งที่หนังแสดงตัวมาตั้งแต่ออกทีเซอร์ตัวอย่างแรกๆ ก็คือการแสดงทัศนะตั้งคำถามต่อเทพเจ้า รวมถึงแนวคิดการปลดปล่อยอิสระให้กับมนุษย์ ซึ่งในหนังก็ยังกระซิบเล็กๆ ให้คนเราอย่ายอมแพ้ต่อโชคชะตา อย่าพึ่งพาแต่สิ่งเหนือธรรมชาติ (หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์) เกิดเป็นต้องพึ่งตนให้ได้ซะก่อน เหล่านั้นคืออะไรที่สมองทำงานต่อหลังจากดูหนังเสร็จ แต่หากว่ากันถึงตัวหนังแล้ว อย่างที่บอกครับว่ามีดีเรื่อง Effect ละลานตา ด้านการผจญภัยก็ตอบสนองความตื่นเต้นเล็กๆ น้อยๆ แต่โดยรวมแล้วหนังก็ยังไม่ถึงขั้นสุด ด้านเนื้อหาก็ยิ่งโล่งโถง จนความรู้สึก “เฉยๆ” ก่อตัวตั้งแต่หนังยังไม่จบดี และลองว่าเฉยตั้งแต่ในเรื่อง จนจบเรื่องก็คงไม่ต้องบรรยายว่ารู้สึกอย่างไร เรียกว่าบทเบา, ไม่เกิดความผูกพันต่อตัวละคร แม้จะตายกันไปมากแค่ไหนก็ตาม, การเดินเรื่องก็มีแก่นที่ไม่ใช่ “ทำเพื่อความสงบของโลก” แต่มันให้อารมณ์เหมือน “กู้โลกจากเหล่าเทพวัยหมดประจำเดือนที่หงุดหงิดง่ายเป็นบ้า” ดีกรีความอร่อยสำหรับผมน้อยลงพอตัว แต่ไม่ว่าจะอย่างไรผมก็ขอชมเหล่าดาราครับ โดยเฉพาะรุ่นใหญ่อย่าง Neeson และ Fiennes ที่เหมาะกับบทมากๆ เล่นดีอย่างแรง แล้วหน้าตาก็สมเป็นพี่น้องกันสุดๆ ยกนิ้วให้คนแคสติ้งเลยครับเลือกได้เยี่ยมมากๆ ยอมรับว่าระหว่างดูแม้บทจะไม่อร่อย แต่อย่างน้อยได้เห็นนักแสดงขั้นเทพมาแสดงเป็นเทพได้อย่างเทพ อย่างน้อยก็ดูเอาเพลินๆ ได้ และย้ำเตือนตนเองด้วยว่าไม่ควรทำสิ่งไม่ดี ไม่ควรทำอะไรให้ใครเดือดร้อน เพราะถ้าทำให้ใครเหลืออดมากๆ ต่อให้เป็นเทพก็อวสานความเมพได้เหมือนกันนักแสดง
Sam Worthington แซม เวิร์ธธิงตัน
Liam Neeson เลียม นีสัน
Ralph Fiennes เรล์ฟ ไฟนส์
ผู้กำกับ : หลุยส์ เลเทอร์เรียร์
รีวิว