ดูหนัง 1917 (2019)
แชม เมนเดส ผู้กำกับรางวัลออสการ์ที่เคยมีผลงานอย่าง Skyfall, Spectre และ American Beauty นำเสนอมุมมองที่แตกต่างในภาพยนตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ในภาพยนตร์ โดยได้ โรเจอร์ ดีกินส์ ผู้กำกับภาพเจ้าของรางวัลออสการ์ รับหน้าที่ผู้กำกับภาพ ภาพยนตร์ถ่ายทอดมุมมองของสงครามโดยใช้การเล่าเรื่องราวแบบเรียลไทม์ เป็นภาพยนตร์เล่าเรื่องแบบช็อตเดียว ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกเสมือนอยู่ในสนามรบ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ทหารอังกฤษ ประกอบด้วย สคอฟิลด์ (จอร์จ แมคเคย์ จาก Captain Fantastic) และ เบลก (ดีน-ชาร์ลส์ แชปแมน จาก Game of Thrones) ได้รับมอบหมายให้ไปร่วมปฏิบัติการที่ดูเหมือนว่าอาจไม่มีทางสำเร็จ พวกเขาต้องข้ามเขตแดนของข้าศึก เพื่อส่งสารเพื่อให้หยุดการโจมตีทหารนับร้อยเมื่อวันที่ 6 เมษายน 1917 การสำรวจทางอากาศได้สังเกตเห็นว่ากองทัพจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งได้ถอนทัพจากแนวรบด้านตะวันตกทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ไม่ได้ล่าถอยอย่างที่คาดไว้ แต่ได้ถอนทัพไปยังแนวฮินเดนเบิร์กใหม่ ซึ่งกองทัพกำลังรอโจมตีกองทัพอังกฤษด้วยปืนใหญ่ ในสนามเพลาะของอังกฤษ โดยสายโทรศัพท์ภาคสนามถูกตัดขาด ทหารยศสิบเอกอังกฤษ 2 นาย คือ วิลเลียม สโคฟิลด์ ทหารผ่านศึกจากแม่น้ำซอมม์ และทอม เบลค ได้รับคำสั่งจากนายพลเอรินมอร์ให้ส่งข้อความถึงพันเอกแมคเคนซีแห่งกองพันที่ 2 ของกรมทหารเดวอนเชียร์ โดยยกเลิกการโจมตีตามกำหนดการในเช้าวันรุ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ทหาร 1,600 นายตกอยู่ในอันตราย รวมถึงโจเซฟ พี่ชายของเบลค ซึ่งเป็นร้อยโทด้วย
อ่านรีวิวก่อน ดูหนัง
นักแสดง
George MacKay จอร์จ มักคาย
Dean-Charles Chapman
Mark Strong
ผู้กำกับ : Sam Mendes
รีวิว 1917 (2019)
beartai
แซม เมนเดส ผู้กำกับอังกฤษเจ้าของรางวัลออสการ์ที่เคยมีผลงานอย่าง American Beauty และแฟรนไชส์ 007 อย่าง Spectre กับ Skyfall ครั้งนี้กลับมาด้วยงานที่คงเป็นภาพฝังใจเขาแต่เด็ก โดยนำเรื่องจริงจากคำบอกเล่าของปู่ตนเองที่ชื่อ อัลเฟร็ด เอช. เมนเดส ในวันที่ 6 เมษายน ปี ครั้งที่เป็นทหารราบในสงครามโลกครั้งที่ 1 บริเวณแนวรบในประเทศฝรั่งเศสระหว่างกองร้อยของอังกฤษกับเยอรมันที่ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด ทั้งนี้เมนเดสได้เขียนบทด้วยตนเองเป็นครั้งแรกร่วมกับ คริสตี้ วิลสัน-แคร์น (จากซีรีส์ Penny Dreadful) นำเสนอมุมมองที่แตกต่างของหนังสงครามย้อนยุค ซึ่งก็แปลกตาดีกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เครื่องแต่งกายและยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ยังไม่หลากหลายทันสมัยอย่างในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่วงการหนังมักชอบยกมานำเสนอมากกว่า ไม่ว่าจะ Saving Private Ryan ของสปีลเบิร์ก หรือ Dunkirk ของโนแลน ก็เป็นหนังสงครามคุณภาพที่ชิงพื้นที่ออสการ์มาแล้วทั้งสิ้น
การที่ใช้สงครามโลกครั้งที่ 1 อาจมองเป็นจุดด้อยในแง่การนำเสนอด้านภาพยิ่งใหญ่ที่น้อยหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในอีกมุมหนึ่งมันก็มีจุดแข็งตรงความอ่อนประสบการณ์ ทั้งในแง่คนดูที่ไม่คุ้นชินกับการสู้รบในยุค 1900 ต้น ๆ อาวุธยุทโธปกรณ์ก็ไม่ได้ประสิทธิภาพสูง พอยืนระยะห่างกันสักหน่อยปืนทหารราบก็เรียกได้ว่ายิงพลาดได้แบบวัดดวงกัน ทำให้หนังมันดูน่าลุ้นไปอีกแบบ เมื่อรวมกับความอ่อนสถานการณ์ของผู้ชมต่อเนื้อหาประวัติศาสตร์ว่าเกิดอะไรขึ้นและจะเกิดอะไรต่อไป มันจึงสร้างประสบการณ์แบบอินไปกับตัวหนังได้อย่างกลมเกลียวเพราะเราก็ไม่รู้อะไรมากพอ ๆ กับตัวละครว่าการเดินทางในสมรภูมินิรนามนี้จะจบลงอย่างไร
ความอ่อนประสบการณ์ของตัวละครเองก็สร้างพื้นที่สำคัญในทางปรัชญาที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหนังอันต่างจากหนังสงครามทั่วไป เพราะโลกยังขาดประสบการณ์แบบที่เรียกว่าสงครามโลก การไตร่ตรองความหมายของการต่อสู้และชีวิตจึงแตกต่างจากหนังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มุ่งหมายเอาเรื่องการเสียสละและความกล้าหาญเป็นตัวนำ สำหรับ กลับทำให้เรามองเห็นตัวละครในฐานะคนธรรมดาที่ต้องเข้าร่วมสงครามได้มากกว่า เพราะความกล้าหาญหรือวีรกรรมเล่าขานกลายเป็นเรื่องไร้ค่าสำหรับ สคอฟิลด์ ผู้ทิ้งเหรียญกล้าหาญของตัวเองแลกกับอาหารเครื่องดื่มดี ๆ สักชิ้นอย่างไม่ไยดี เขาไร้จุดหมายที่จะกลับบ้านและมองสงครามเป็นเรื่องที่ยากน้อยกว่าการสร้างครอบครัว สงครามไม่ได้มีค่าอะไรกับเขาเท่าการมีชีวิตต่อไปอย่างพอมีความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ การได้ทานขนมปังแฮมชิ้นเล็ก ๆ ที่หาได้ยากเย็นกลับดูยิ่งใหญ่กว่าสำหรับเขา และเมื่อเขาถูกทดสอบทางเลือกระหว่างทำภารกิจที่ถูกโอบล้อมในดงศัตรูที่อาจทำให้ตายได้ กับช่วยเหลือหญิงสาวฝรั่งเศสที่บังเอิญพบเจอแล้วสร้างครอบครัวให้เด็กทารกกำพร้าแม่ เขาก็เลือกไปเสี่ยงตายมากกว่าได้อย่างไม่ลังเล